Monday, February 8, 2010

สรุปสาระสำคัญ พรบ. ร่วมการงานกับรัฐฯ

กฎหมายฉบับนี้มีเพื่อให้การให้สัมปทานหรือร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน มีหลักเกณฑ์การตัดสินที่ชัดเจน เป็นไปได้ด้วยความถูกต้อง โปร่งใส และมีกลไกการตรวจสอบจาำกหลายหน่วยงาน มิใช่จากผู้มีอำนาจตัดสินใจผู้ใดผู้หนึ่ง (ดู หมายเหตุท้าย พรบ.)



พรบ. นี้กล่าวถึงกระบวนการที่จะให้เอกชนเข้ามาร่วมงานกับรัฐ โดยแบ่งเป็น 5 หมวดดังนี้



หมวดที่ 1 บททั่วไป กำหนดนิยามต่างๆ
หมวดที่ 2 การเสนอโครงการ หน่วยงานรัฐ (วิสาหกิจ) เสนอผลการศึกษาโครงการโดยละเอียดต่อกระทรวงการคลัง และให้รัฐมนตรีคลังเสนอเข้า ครม. 
หมวดที่ 3 การดำเนินโครงการ เมื่อ ครม. เห็นชอบ หน่วยงานรัฐจัดตั้งคณะกรรมการมาตรา ๑๓ ร่างขอบเขตโครงการ ประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมประมูลโครงการ จนถึงคัดเลือกเอกชน ครม. เป็นผู้ตัดสินชี้ขาด
หมวดที่ 4 การกำกับดูแลและติดตามผล เมื่อลงนามในสัญญาแล้ว ให้หน่วยงานรัฐเจ้าของโครงการตั้งคณะกรรมการมาตรา ๒๒ กำกับดูแลให้เป็นไปตามสัญญาและรายงานผลการดำเนินงานต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด 
หมวดที่ 5 บทเฉพาะกาล โครงการที่ทำไปแล้วถึงขั้นตอนไหนก่อนวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นอันใช้ได้แต่การดำเนินการในขั้นตอนต่อไปให้ปฏิบัติตาม พรบ. นี้

สัมปทานของ AIS กับ DTAC ได้มีการเซ็นก่อนปี ๒๕๓๕ ดั้งนั้นทั้งสองกรณีจึงอยู่ในขั้น การกำกับและติดตามผล โดยต้องมีคณะกรรมการตามมาตรา ๒๒ เป็นผู้กำกับดูแล

ส่วนกรณีของ True Move และ DPC ซึ่งได้รับสัมปทานหลังจากปี ๒๕๓๕ จึงต้องปฏิบัติตาม พรบ. นี้ทั้งหมด เริ่มจาก CAT ต้องว่าจ้างที่ปรึกษามาจัดทำรายงานการศึกษาโครงการ เสนอรัฐมนตรีคลัง ให้คลังเสนอเข้า ครม. จน ครม. เห็นชอบจึงตั้งคณะกรรมการมาตรา ๑๓ มาจัดการประมูลและเลือกเอกชน หลังจากนั้นค่อยตั้งคณะกรรมการมาตรา ๒๒ เป็นผู้กำกับดูแลต่อไป

เฮ้อ.. เหนื่อย

No comments:

Post a Comment