Wednesday, September 22, 2010

ไทยคุยมือถือมากเป็นอันดับสองของโลก


สถิติการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ (เฉพาะการสื่อสารด้วยเสียง) ของไทยตกอยู่ที่เฉลี่ยเดือนละ 489 นาทีต่อราย จัดเป็นอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา (794) ซึ่งแซงหน้าเพื่อนบ้านอย่าง จีน (442), อินเดีย (376), สิงคโปร์ (373), มาเลเซีย (196), ไต้หวัน (191), อินโนนีเซีย (189) และ ฟิลิปปินส์ (47) ที่น่าสนใจคือค่าเฉลี่ยการใช้งานต่อเดือนนี้ยังสูงกว่าประเทศใหญ่ๆ อย่าง เกาหลีใต้ (294), ฝรั่งเศส (211), สหราชอาณาจักร (192), สเปน (153), ญี่ปุ่น (138), เยอรมัน (108) หรือแม้แต่ มอนเตเนโกร (111) เนื่องจากไม่ได้นับรวมวีดีโอลิงค์ (ฮา)

หรือนี่แสดงว่าราคาค่าโทรในไทยถูกเกินไปจริงๆ

Vodafone บอกลา unlimited data package

Vittorio Colao ซีอีโอของ Vodafone เป็นอีกหนึ่งรายที่ออกมายืนยันว่า unlimited data package กำลังจะต้องหมดไป Calao กล่าวในงาน Nokia World 2010 ซึ่งจัดขึ้นในลอนดอนว่า ตลาด smartphone เริ่มขยายวงกว้างไปสู่ผู้บริโภคทั่วไปและไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มลูกค้า high-end เหมือนเดิม อนาคตการใช้งาน data กำลังจะบูมซึ่งโครงข่ายก็จำเป็นต้องเตรียมพร้อมรองรับให้ได้ แต่การคิดราคาจำเป็นต้องเปลี่ยน ราคาจะต้องสะท้อนการใช้งานจริงของลูกค้าและภาระที่เกิดขึ้นในโครงข่าย

Wednesday, August 25, 2010

MVNO

Mobile Virtual Network Operator หรือ MVNO คือผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยที่ไม่ได้ครอบครองคลื่นความถี่หรือโครงข่ายที่จำเป็นทั้งหมดในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่ได้ทำข้อตกลงกับ Mobile Network Operator (MNO) ในการใช้ทรัพยากรดังกล่าวเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ เนื่องจาก MVNO ไม่สามารถแข่งกับผู้ให้บริการรายใหญ่ที่เป็นเจ้าของคลื่นความถี่ (และโครงข่ายที่จำเป็นอื่นๆ) ได้ จึงมักจะใช้กลยุทธ์เจาะกลุ่มตลาดที่มีความต้องการเฉพาะทางเช่น กลุ่มนักเรียน กลุ่มแฟนทีมฟุตบอล กลุ่มแรงงานต่างด้าว ฯลฯ

ปมคลื่นความถี่โทรคมไทย.. ใครจะสาง?

การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จำเป็นต้องอาศัยคลื่นความถี่วิทยุ ย่านความถี่สำหรับให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบ่งเป็นย่านความถี่ต่ำ 850/900 MHz และย่านความถี่สูง 1800 MHz ซึ่งส่วนใหญ่ใช้สำหรับให้บริการ 2G ส่วนบริการ 3G ที่กำลังจะมีการประมูลนั้นใช้ย่าน 2100 MHz การจัดสรรคลื่นความถี่ที่ผ่านมาในแต่ละย่านนั้นต่างกรรมต่างวาระ ขึ้นอยู่กับสัญญาสัมปทาน ผู้ประกอบการแต่ละรายจึงมีความได้เปรียบเสียเปรียบในการแข่งขันที่ต่างกันไป การประมูล 3G เป็นก้าวแรกที่จะเปลี่ยนจาก ระบบสัมปทาน สู่ ระบบใบอนุญาต ซึ่งมุ่งให้เกิดความเท่าเทียมกันในการแข่งขัน ทำให้เราต้องย้อนกลับมามองว่าการแข่งขันในตลาดปัจจุบันมีความเท่าเทียมกันเพียงพอที่จะก่อให้เกิด "การแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรม" แล้วหรือไม่?

รายละเอียดการจัดสรรคลื่นความถี่ในแต่ละย่านมีดังนี้

Friday, August 6, 2010

กทช. ออกร่างประกาศฯ ว่าด้วยการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว


กทช. ออกร่างประกาศฯ ว่าด้วยการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว และกำหนดจะให้มีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะสำหรับร่างประกาศฯ นี้ในวันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม 2553 (ดูรายละเอียดได้ที่ กทช.)

Friday, July 23, 2010

พระราชบัญญัติ การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 มาตรา 80

ประเด็นการแปลงสัมปทานกำลังเป็นข่าวกันในหน้าหนังสือพิมพ์นำโดยกระทรวงการคลังและกระทรวงไอซีที โดยตั้งเป้าว่าจะแปลงสัญญาสัปทานเป็นใบอนุญาตที่มีอายุ 15 ปี (เท่ากับอายุใบอนุญาต 3G ที่กำลังจะประมูล) และลดส่วนแบ่งรายได้เหลือ 12.5% (จากเดิมประมาณ 25%) การแปลงสัมปทานเป็นใบอนุญาตนั้นอาศัยความในมาตรา 80 (บทเฉพาะกาล) ของ พรบ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 จึงนำมาลงไว้ให้พิจารณากันครับ ประเด็นก็คือเมื่อแปลงสัญญาสัมปทานเป็นใบอนุญาตแล้วอายุของใบอนุญาตจะเท่ากับระยะเวลาที่เหลืออยู่ของสัมปทานเดิม (AIS 2558, DTAC 2561, True Move 2556, DPC 2556) อันนี้เป็นโจทย์หินที่ทีมคณะทำงานต้องขบให้แตก